วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน3

1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
    ตอบ  มนุษย์เป็นสัตว์อันประเสริฐที่เกิดตามธรรมชาติที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แต่มนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้ จำเป็นต้องอาศัยพึ่งพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่รวมกันเป็นสังคมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและอยู่รอดได้ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การ
แก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กาลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์
2.ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายจะเป็นอย่างไร
    ตอบ  สังคมปัจจุบันจะอยู่ไม่ได้ เพราะขนาดมีกฎหมายบังคับใช้ไว้แล้วก็ยังมีความวุ่นวายเกิดขึ้นอยู่ ถ้าไม่มีกฎหมายสังคมก็จะเกิดความวุ่นวายมากขึ้นกว่านี้เป็นทวีคูณ และถ้าขาดคุณธรรมกันด้วย สังคมก็จะไม่เป็นสังคมอีกต่อไป
3.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
    ตอบ  ก.ความหมาย
                กฎหมาย คือ คาสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
            ข.ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
                1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ 
                2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คาวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คาแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สาหรับคาสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย
                3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
                4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทาและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทาผิดจะต้องได้รับโทษ 
            ค.ที่มาของกฎหมาย 
                กฎหมายในแต่ละประเทศมีที่มาแตกต่างกัน ส่วนของประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะ ดังนี้
            1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร
                2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
                3. ศาสนา มีข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีซึ่งทุก ๆ ศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี
                4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา
                5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์
            ง. ประเภทของกฎหมาย 
            ประเภทของกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย มีดังนี้
      ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
            1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
            2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
           3. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
           4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
     ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
           1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
           2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
           3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
4.ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
    ตอบ  เพราะทุกประเทศต้องการมีความเป็นอยู่ที่ดีและมั่นคง จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายไว้บังคับใช้ เพื่อให้การอยู่รวมกันเป็นสังคมที่สงบสุข มีแนวปฏิบัติร่วมกัน
5.สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไรจงอธิบาย
    ตอบ  เป็นข้อบังคับที่ทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตาม เพื่อการดำรงอยู่ในสังคมเดียวกัน
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
    ตอบ  สภาพบังคับกฎหมายทางอาญาและทางแพ่งมีความแตกต่างกัน คือ กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา ส่วนกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆ กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
7.ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ  ระบบกฎหมายแบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
       1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสาคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น
       2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา
ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
8.ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย
อะไรบ้างยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ  การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน หากเราจะพิจาณาแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ แบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่ง ได้แก่
       ก. แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
       1. กฎหมายภายใน มีหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
                - แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก คือ กฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
                - แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก คือ กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง
                - แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                - แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
       2. กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น
               - แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
ต่อรัฐ
               - แบ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง
               - แบ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามประเทศให้แก่กัน        
๙.ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ  ศักดิ์ของกฎหมาย คือ การจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน มีการแบ่งโดยอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้ โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
       1การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น
      2. การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม
      3. ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
10.เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่า จะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำ
ผิดหรือถูก
    ตอบ  ดิฉันคิดว่าถ้าในแง่ของสิทธิเสรีภาพของประชาชนพวกเขาทำถูกต้องแล้วที่ไม่นอนหลับทับสิทธิของตังเองที่พึงมีและในแง่ของรัฐบาลอาจจะผิดในส่วนของการปรองดองให้เกิดสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ ผิดฐานที่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนซึ่งต้องปฏิบัติไปตามหลักประชาธิปไตย
11.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำ ว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไร
จงอธิบาย
    ตอบ  กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผล
บังคับใช้ 
        ดังนั้นครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
    ตอบ  ส่งผลต่อตัวเราเองและนักเรียนของเราด้วย คือ บางครั้งเราอาจทำการลงโทษเด็กโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพราะการลงโทษบางประการอาจผิดต่อกฎหมายการศึกษาจะส่งผลให้เราเสียชื่อเสียงและเสียภาพพจน์ของสถาบันด้วย
            


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น