วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทดสอบปลายภาค

คำสั่ง  ข้อสอบมีทั้งหมด 7  ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน
_____________________________________________________________________

1.กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
พร้อมทั้ง      ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ
    ตอบ  กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ
เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
 กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐ
ทีเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้ ซึ่งกฎหมายการศึกษา
ต่างกับกฎหมายทั่วไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้ อย่างเช่น กฎหมายการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และกฎกระทรวง กำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.. ๒๕๔๘ เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

2.รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)
    ตอบ  กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของชาติ เป็นสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพราะบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ นอกจากกำหนดนโยบายและแนวทางในการปกครองประเทศแล้ว และได้กำหนดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของพลเมืองและหลักในการจัดการศึกษาของชาติ
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การศึกษารัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490        
รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ต่อมาได้เปลี่ยนคาว่าราชอาณาจักรสยามเป็นราชอาณาจักรไทย จนถึงปัจจุบัน และกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากหนัก ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุม
โดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ 
          ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492-2517
          ประเด็นที่ 2 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
1. สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ในการศึกษาอบรม สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการศึกษาอบรม ตามความสามารถของบุคคล
2. หน้าที่ของชนชาวไทย บุคคลย่อมได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือการศึกษา
ขั้นมูลฐาน ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
3. กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐ จัดการศึกษาเพื่อพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรง อานามัยสมบูรณ์ มีความรู้ประกอบอาชีพและมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย
4. ส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมการจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา ดาเนินได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
5. การจัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาล โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521-2534
ประเด็นที่ 3 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
1. บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาอบรม
ไม่เป็นปรปักษ์และไม่ขัดต่อกฎหมายการศึกษา
2. เสรีภาพในวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครองที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมือง
3. รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม ระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐและสถานศึกษาทั้งปวงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ
4. การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐกำหนดให้สถานศึกษาดาเนินการตามกิจการของ
ตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
5. การศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่น จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
6. รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพ
7. รัฐสนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ
8. รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ
ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540-2550
ประเด็นที่ 4 เกี่ยวกับการศึกษาพอที่จะสรุปได้ดังนี้
1. สิทธิและเสรีภาพในเชิงวิชาการ การเรียนการสอนการวิจัยได้รับการคุ้มครอง
2. รัฐจัดการศึกษาให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย และการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง
3. รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส
4. รัฐจะต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ
5. รัฐส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน
6. ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสานึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ  
    ตอบ  พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับมี 20 มาตรา ซึ่งผู้ที่เป็นผู้ปกครองและมีความเกี่ยวเนื่องกับเด็กที่มีอายุถึงเกณฑ์ที่สามารถเข้าเรียนได้ในสถานศึกษาภาคบังคับควรทราบและปฏิบัติตาม ประเด็นมาตราที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ คือ มาตรา 6 ให้ผู้ปกครองส่งเดกเข้าเรียนในสถานศึกษาและ
มาตร 13 ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

4.ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือ
บทกำหนดโทษอย่างไ ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
    ตอบ  ไม่สามารถปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ในกรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูจะต้องรับบทลงโทษตามมาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าจะทำให้ถูกต้องควรไปศึกษาเรียนต่อเพิ่มเติมเพื่อสอบเอาใบวิชาชีพมาสมัครสอนต่อในสานศึกษา

5.สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
    ตอบ  เมื่อพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าวควรรีบแจ้งหรือรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือผู้ที่มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา 24 มีบทลงโทษตาม มาตรา 78 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

6.ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2 และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมายไปใช้ได้
พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
    ตอบ  ประเด็นที่ 1 การอบรมสั่งสอนนักเรียนที่ประพฤติผิดกฎระเบียบของโรงเรียนในฐานะที่เป็นครูผู้สอนควรมีส่วนช่วยในการว่ากล่าวตักเตือนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 หมวดที่ 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา เช่น การอบรมสั่งสอนนักเรียนที่ประพฤติผิดกฎระเบียบของโรงเรียนนั้นต้องดำเนินไปตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กดังกล่าว เมื่อตักเตือนแล้วนักเรียนไม่ปฏิบัติตามควรดำเนินเรื่องส่งต่อผู้บริหารบันทึกเรื่องเมื่อแก้ไขเบื้องต้นไม่ได้ก็ให้ทำหนังสือให้ผู้ปกครองตักเตือนต่อไป
          ประเด็นที่ 2 การที่เราจะเป็นครูเราควรทุ่มเทสอนเด็กไม่หวังผลตอบแทนใดตามจรรยาบันความเป็นครูทั้ง 10 ประการซึ่งเป็นตัวบ่งบอกเบื้องต้นว่าสามารถเป็นครูที่ดีได้ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ
คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อเด็ก มาตรา 22 การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

7.ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บบล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้  
พอสังเขป
    ตอบ  ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการใช้ชีวิตประจำวันสังเกตเห็นได้ง่ายจากการติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคลนิยมใช้เทคโนโลยีมาใช้ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทรศัพท์ในการติดต่อทำธุระกรรมต่าง ๆ การใช้
เฟสบุค ไลน์ อินสตาแกรม ติดตามข่าวสารรวมถึงการเปิดช่องทางค้าขายออนไลน์ การติดต่อสนทนากับเพื่อนเก่า ใหม่ และเนื่องจากตอนนี้สังคมอยู่ในศตวรรษที่ 21 ที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยเทคโนโลยีจึงเป็นเครื่องมือหลักในการนำมาจักการเรียนการสอนด้วยเพื่อที่จะทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การใช้เว็บบล็อกเข้ามามีส่วนช่วยในการเรียนการสอนทำให้เกิดความสะดวกในการศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตนเองซึ้งความรู้ที่ได้ต่างนำมาใช้ได้จริง มีส่วนช่วยในการฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนมีนิสัยรักการศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น